คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
ข้อมูลทั่วไป
ตราประจำจังหวัดสุโขทัย
ภาพพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
ประทับบนพระแท่นมนังคศิลา ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ได้รับความ
ร่มเย็นเป็นสุข และทรงบริหารราชอาณาจักรแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองที่สุด
ในช่วงปี พ.ศ. 1822 ถึง พ.ศ. 1842
จังหวัดสุโขทัย ใช้อักษรย่อว่า "สท"
คำขวัญของจังหวัดสุโขทัย
"มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย
เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลก ทองโบราณ
สักการแม่ย่า พ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข"
ธงประจำจังหวัดสุโขทัย
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสี ๓ สี แถบแดงอยู่เบื้องบน แถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง และแถบเขียวอยู่เบื้องล่าง พื้นธงมุมบนด้านใกล้คันธง มีภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงประทับบนพระแท่นมนังคศิลาและมีคำว่าจังหวัดสุโขทัยอยู่เบื้องล่างใต้ฐานยอดคันธงชิดกับมุมบนของธงด้านเสามีแถบสีแดง สีเหลืองและสีเขียวห้อยชายมายังเบื้องล่างในลักษณะพองาม การใช้สีแดง สีเหลือง และสีเขียวเป็นพื้นธงมีความหมายดังนี้
สีแดง หมายถึง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปได้อย่างกว้างขวาง ทิศเหนือได้เมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศตะวันตกถึงเมืองหงสาวดี ทิศตะวันออกแผ่พระราชอาณาเขตออกไปจนถึงแม่น้ำโขง ต่อแดนเวียงจันทน์และเวียงคำ ทิศใต้ได้ตลอดถึงแหลมมาลายู นับว่าดินแดนของประเทศไทยสมัยนั้นแผ่ขยายกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น
สีเหลือง หมายถึง พระพุทธศาสนา ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองและนิมนต์พระสังฆราชจากลังกามาปรับปรุงกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยต้องตามพุทธบัญญัติ และเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกทรงผนวช
สีเขียว หมายถึง การเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ประชาชนดำรงชีพด้วยความสบาย ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ใครใคร่ประกอบอาชีพใดก็ตามใจชอบ เจ้าเมืองไม่เก็บจังกอบ จึงอยู่กันด้วยความเป็นสุขสบาย ดังปรากฏตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ดังนี้
"…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่อเอา จกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส…"
![]() |
ดอกไม้ประจำจังหวัดได้แก่ ดอกบัวหลวง
![]() |
ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ตาลโตนด
![]() |
พันธุ์ไม้มงคลที่ได้รับพระราชทานคือ มะค่าโมง
สภาพภูมิศาสตร์
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 440 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,596.092 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,122,557 ไร่
อาณาเขต
จังหวัดสุโขทัยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ เขตอำเภอศรีสัชนาลัย ติดต่อกับ อำเภอวังชิ้น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ และอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศใต้ เขตอำเภอคีรีมาศ และอำเภอกงไกรลาศ ติดต่อกับ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก เขตอำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสำโรง และอำเภอสวรรคโลกติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก เขตอำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอทุ่งเสลี่ยม ติดต่อกับ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดสุโขทัยมี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม โดยตอนเหนือเป็นที่ราบสูงมีภูเขาเป็นพืดยาวมาทางทิศตะวันตก พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบและตอนใต้เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำไหลผ่านจากเหนือลงใต้ โดยผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และอำเภอ กงไกรลาศ เป็นระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร จังหวัดสุโขทัยมีภูเขาที่สูงที่สุด คือ เขาหลวง ซึ่งยอดเขามีความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดสุโขทัย มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 27.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,208.8๘ มิลลิเมตร บริเวณที่มีฝนตกมากที่สุดจะอยู่ตอนบนของจังหวัด บริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอศรีนคร
ประชากร
ประชากรในจังหวัดสุโขทัยส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมากจากชาวไทยดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้นานมาแล้ว โดยมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนสำเนียงภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จะมีคนอพยพมาจากท้องถิ่นอื่นบ้างไม่มากนัก นอกจากนี้ยังมี ชนกลุ่มน้อย เป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ม้ง เย้า และลีซอ ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มานานแล้ว และอีกส่วนหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดลำปาง น่าน พะเยา เชียงราย แพร่ ตาก และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันชาวเขาเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านแก่ง และตำบลแม่สิน แม่สำ ในอำเภอศรีสัชนาลัย มีจำนวนประมาณ 428 หลังคาเรือน
ทรัพยากรธรรมชาติ
จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วยป่าไม้มีค่า มีพื้นที่ดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีแร่ธาตุที่สำคัญ มีแหล่งน้ำธรรมชาติและทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งแหล่งธรรมชาติที่งดงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวสุโขทัย
ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จังหวัดสุโขทัยมีเนื้อที่ป่าไม้ 2,367.08 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 35.63ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด กรมป่าไม้ได้ประกาศกำหนดพื้นที่ป่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 12 แห่ง เนื้อที่ 1,923,499.75 ไร่ อุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 แห่ง เนื้อที่ 346,375 ไร่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า จำนวน 1 แห่ง เนื้อที่ 15,875 ไร่ และวนอุทยาน จำนวน 1 แห่ง เนื้อที่ 11,250 ไร่
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดสุโขทัยมีแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน (น้ำบาดาล) ที่สำคัญดังนี้
แม่น้ำยม เกิดจากสันเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา ไหลผ่านจังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย จากทางเหนือสู่ทางใต้ ผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ เป็นระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร ไปบรรจบแม่น้ำน่านที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
แม่น้ำยมเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดสุโขทัย เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด ราษฎรส่วนใหญ่ได้อาศัยน้ำจากแม่น้ำยมในการทำการเกษตรและการอุปโภค บริโภค แม่น้ำยมเป็นแม่น้ำที่มีความลาดเทสูง โดยเฉพาะช่วงต้นน้ำ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำ คือในฤดูฝนจะมีน้ำมากเกินความต้องการ และไหลลงสู่ทางใต้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณที่ราบลุ่ม จนเป็นเหตุให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะมีปริมาณน้อย ลำน้ำจะแห้งขอดเป็นตอน ๆ ราษฎรจึงไม่มีน้ำใช้ในการเกษตรเพียงพอ ปัจจุบันได้มีการสร้างแหล่งเก็บน้ำถาวรเป็นช่วง ๆ
ห้วยแม่มอก เกิดจากเทือกเขาในเขตจังหวัดลำปาง ไหลจากทิศตะวันตกไปตะวันออกผ่านอำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง และเข้าสู่อำเภอเมืองสุโขทัย จะถูกกลืนไปกับลักษณะพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ เป็นระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร
ห้วยแม่ลำพัน เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไหลจากทางทิศตะวันตกไปตะวันออก ผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอย แล้วมาบรรจบกับแม่น้ำยมที่อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
ห้วยแม่ท่าแพ เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย ไหลลงมาทางทิศใต้ ผ่านพื้นที่อำเภอสวรรคโลก ไปบรรจบกับห้วยแม่มอกที่อำเภอศรีสำโรง เป็นระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร
ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุที่สำคัญที่พบในจังหวัดสุโขทัยมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ หินอ่อน หินปูน พลวง ดินขาว แมงกานิส ฟลูออไรด์ และแร่รัตนชาติ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่มีการขุดพบแต่ยังไม่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ทองแดงและเหล็ก แหล่งแร่ที่สำคัญของจังหวัดสุโขทัยมีอยู่แถบภูเขาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณอำเภอศรีสัชนาลัยและอำเภอทุ่งเสลี่ยม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายกตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองสวรรคโลก หลังวัดสวรรคาราม (วัดกลาง) ห่างจากตัวเมืองสุโขทัย 38 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1.6 กิโลเมตร ถึงพิพิธภัณฑ์ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ชั้นบน จัดแสดงประติมากรรมสมัยต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นสมบัติที่มาจากวัดสวรรควรนายก และพระ สวรรควรนายก และบางส่วนย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่ก่อนยุคสุโขทัย จนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนบริเวณ ชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ ซึ่งขุดพบมากที่แหล่งโบราณคดีเครื่องถ้วยสังคโลกบ้านเกาะน้อย และบ้านป่ายาง อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งแสดงเครื่องถ้วยชามสมบัติใต้ทะเลที่งมได้มาจากแหล่งเรือจมในอ่าวไทย พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 - 16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท ในกรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชม ติดต่อได้ที่พิพิธภัณฑ์สวรรควรนายก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 64110 โทร. 0 5564 1571, 0 5564 3166 |
เตือนภัยธรรมชาติ
เตือนภัยธรรมชาติ
ระดับน้ำในแม่น้ำยม
ระยะเวลาการเดินทางของลำน้ำยม
ระดับน้ำยมและสภาวะน้ำท่วม จ.สุโขทัย
![]() |
|
การเตือนภัยน้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำยม จ.แพร่ ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วม จ.สุโขทัยกราฟแสดงความสัมพันธ์ของระดับน้ำ-ระยะเวลาการไหลของแม่น้ำยม(จากสถานี Y20 - Y6)
|
|
การเตือนภัยน้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำยมและสภาวะน้ำท่วม จ.สุโขทัย กราฟแสดงความสัมพันธ์ของระดับน้ำ-ระยะเวลาการไหลของแม่น้ำยม(จากสถานี Y6 -Y4)
|
พระสุโขทัย
พระสุโขทัย
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
![]() |
![]() |
อยู่ในห้วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ นับตั้งแต่พ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดได้ร่วมกันตีได้เมืองสุโขทัย พ่อขุนบางกลางท่าวได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับขอม และได้มีพระมหากษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัยต่อมาอีกหลายพระองค์ ตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นปึกแผ่น
![]() |
![]() |
ในห้วงเวลาดังกล่าว พุทธศาสนาในลังกาเจริญรุ่งเรืองมาก บรรดาพระสงฆ์ในสุวรรณภูมิอันได้แก่ ไทย พม่า มอญ พากันไปศึกษาพุทธศาสนาในลังกาเป็นอันมาก และได้มีพระสงฆ์ชาวลังกา เข้ามาเผยแพร่ พุทธศาสนาในดินแดนส่วนนี้ด้วย โดยในระยะแรกมาอยู่ที่นครศรีธรรมราช ต่อมาจึงขึ้นไปอยู่สุโขทัย และเชียงใหม่ ดังนั้นพระพุทธรูปในยุคนี้จึงได้แบบอย่างมาจากลังกา ลักษณะโดยทั่วไปมีดังนี้คือ รัศมียาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย ส่วนมากไม่มีไรพระศก พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน ชายสังฆาฏิยาว ปลายมี ๒ แฉก และย่นเป็นเขี้ยวตะขาบ ฐานส่วนใหญ่เป็นแบบฐานเอียง ตอนกลางโค้งเข้าด้านใน ตรงข้ามกับสมัยเชียงแสน
![]() |
พระพุทธรูปสมัยนี้ แบ่งออกเป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่นแรก มีวงพระพักตร์กลมแบบลังกา รุ่นที่สอง มีวงพระพักตร์ยาว และพระหนุเสี้ยม รุ่นที่สาม น่าจะสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชา หรือ พระเจ้าลิไท พระองค์ทรงหาหลักฐานต่าง ๆ จากพระไตรปิฎก มาประกอบการสร้างพระพุทธรูป จึงได้เกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกแบบหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วงพระพักตร์ รูปไข่คล้ายแบบอินเดีย ปลายนิ้วพระหัตถ์เสมอกันทั้ง ๔ นิ้ว
|
ที่มา : หอมรดกไทย www.heritage.thaigov.net
กรุพระเครื่องสุโขทัย
ข้อมูลด้านสังคม
ประชากร
ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้นานมาแล้ว โดยมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และสำเนียงภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นอกจากนั้น ยังมีประชากรที่อพยพมาจากท้องถิ่นอื่นบ้างไม่มากนัก รวมทั้งชนกลุ่มน้อยเป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ม้ง เย้า และลีซอ ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มานานแล้ว และอีกส่วนหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดลำปาง น่าน พะเยา เชียงราย แพร่ ตาก และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันชาวเขาเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านแก่ง ตำบลแม่สิน และตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย สำหรับอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด คือ อำเภอเมืองสุโขทัย รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ และอำเภอศรีนคร เป็นอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด สำหรับความหนาแน่นของประชากรในจังหวัดสุโขทัย โดยเฉลี่ย 91 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ตารางแสดงจำนวนประชากร ณ เดือนธันวาคม 2553
ตารางแสดงจำนวนประชากร ณ เดือนธันวาคม 2553
อำเภอ |
พื้นที่ |
หมู่บ้าน |
ตำบล |
เทศบาลเมือง |
เทศบาลตำบล |
อบต. |
ชาย |
หญิง |
จำนวนบ้าน |
เมืองสุโขทัย สวรรคโลก |
581.474 586.192 565.731 2,050.51 502.382 521.892 569.932 1,018.11 199.865 |
86 |
9 |
1 |
3 |
8 |
50,899 41,970 34,644 45,939 31,438 27,827 24,763 23,471 12,978 |
55,094 44,502 37,302 47,581 32,752 28,554 25,251 23,073 13,740 |
35,945 29,371 22,696 31,482 19,688 15,950 15,309 13,402 8,880 |
รวม |
6,596.09 |
843 |
84 |
2 |
16 |
72 |
293,929 |
601,778 |
192,669 |
ที่มา : จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย