คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ดงย่าปา)
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ดงย่าปา) เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งเป็นการเที่ยวชมที่สามารถสัมผัสวีถีชีวิตธรรมชาติของชาวสวนทุเรียน พร้อมทั้งชิมผลไม้จากชาวสวนโดยตรง เช่น เงาะ ทุเรียน ฯลฯ โดยกำหนดจัดงานในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี ณ บ้านดงย่าปา หมู่ที่ 6 ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถามได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก โทร. 0-5567-7200
พระพุทธอุทยานสุโขทัย
พระพุทธอุทยานสุโขทัย
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุด เมื่อเทียบกับพระพุทธรูปในสมัยอื่น ๆ ในอดีตองค์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย และประชาชนชาวสุโขทัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการก่อสร้าง พระพุทธรูปทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากนับพันองค์ หลังจากอาณาจักรสุโขทัยร่วงโรย พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในเมืองสุโขทัย จึงถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก และได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่างๆ มากกว่า 200 องค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปจำลองจำนวน 9 องค์ ที่จังหวัดสุโขทัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1. พระพุทธรูปปางลีลา ขนาดความสูง 2.03 เมตร ทำพิธีเททองหล่อองค์พระเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 18.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร 2. พระร่วงโรจนฤทธิ์ ขนาดความสูง 7.72 เมตร ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 17.39 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม 3. พระศาสดา ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร 4. พระพุทธชินสีห์ หรือ พระนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์ พระเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม กรุงเทพมหานคร 5. พระพุทธสิหิงค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร 6. หลวงพ่อร่วง ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก องค์เดิมทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดมหรรณ พาราม กรุงเทพมหานคร 7. พระสุโขทัยไตรมิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูง 7 ศอก 9 นิ้ว ทำพิธีเททองหล่อ องค์พระเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร 8. พระศรีศากยมุนี ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร 9. พระพุทธไสยาสน์ ขนาดความยาว 6 ศอก ทำพิธีเททองหล่อองค์พระ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.39 น. องค์เดิมประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร |
พระพุทธอุทยานสุโขทัย ได้เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบวิหารพระปรางค์ห้ายอด ภายในวิหารปูด้วยหินอ่อน พื้นภายนอกปูด้วยหินแกรนิต ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและรายได้จากการจำหน่าย 9 พระพุทธสุดแผ่นดิน และ 9 พระเครื่องเฟื่องสุดกรุ |
สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ
สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง)
|
ถ้ำเจ้าราม
ถ้ำเจ้าราม อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ณ บริเวณหน่วยพิทักษ์เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวังตะเคียน เขตป่าสงวนแห่งชาติแม่มอก-แม่ลำพัน หมู่ที่ 15 ตำบลวังน้ำขาว อยู่ห่างจากอำเภอบ้านด่านลานหอยไปทางทิศเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร
ความเป็นมาของถ้ำเจ้าราม “ถ้ำพระราม” เดิมปรากฏอยู่ในปลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาชาวบ้านแถบนั่นเรียกเพี้ยนไปเป็น “ถ้ำเจ้าราม” จากหลักฐานและคำบอกเล่าสันนิษฐานว่าถ้ำเจ้ารามน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับพ่อขุนรามคำแหง อยู่ 2 ประการ ประการที่ 1 เป็นที่พักผ่อนของพ่อขุนรามฯ เพราะเป็นบริเวณถ้ำที่มีปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม ประการที่ 2 เป็นที่หลบภัยจากข้าศึกศัตรู เพราะในบริเวณส่วนกลางของถ้ำเป็นที่โล่งกว้างด้านบนมีปล่อง แสงอาทิตย์ส่องลงมาได้ สามารถบรรจุคนได้มากพอสมควร และยังมีแผ่นศิลาจารึกเป็นภาษาสุโขทัยปรากฏอยู่ในถ้ำ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในระหว่างการเข้าชมถ้ำเจ้าราม ไม่สมควรพูดจาหยาบคายหรือลบหลู่ และมิควรกระทำมิดีเพราะจะเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดต่าง ๆ ได้ เช่น มูลค้างคาว ซึ่งมีค่ามหาศาลทำให้เกิดความโลภของมนุษย์ จนเกิดเพทภัยถึงแก่ชีวิตมาแล้วหลายคน จากการบอกเล่าของชาวบ้านมีผู้ที่เคยเข้าไปสำรวจภายในถ้ำเจ้าราม พบว่ามีลักษณะแคบบ้างกว้างบ้างและยาวมาก กล่าวว่าท้ายถ้ำยาวไปถึงจังหวัดลำปาง สังเกตจากมูลค้างคาวถูกไฟไหม้ที่ปากถ้ำ แต่มีควันไฟไปออกที่ปลายถ้ำ ซึ่งเป็นบริเวณติดต่อดังกล่าว ภายในถ้ำมีสระน้ำขนาดใหญ่ และเคยมีผู้พบพระพุทธรูปสมัยเก่าหลายองค์ในน้ำ จุดเด่นทางธรรมชาติ ถ้ำพระราม เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวกินแมลงหลายชนิด ที่สำคัญคือ ค้างคาวปากย่น มีประมาณ แปดแสน - หนึ่งล้านตัน จะออกมาหากินในตอนเย็นโดยบินต่อกันเป็นทิวสาย สวยงามประทับใจแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ต้นสักใหญ่ เป็นต้นสักขนาดใหญ่ที่ยืนต้น และยังมีชิวิตอยู่สูงประมาณ 25 เมตร เส้นรอบวงประมาณ 630 ซม. อยู่ห่างจากถ้ำพระรามไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กม. ดงจันทน์ผา เป็นสังคมพืชเขาหินปูน โดยมีต้นจันทน์ผาขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่อยู่หลังหน่วยพิทักษ์ป่าเชิงผาน้ำตกเชิงผา เป็นน้ำตกที่เกิดจากแหล่งน้ำซับ ที่ผุดขึ้นจากใต้ดิน มี 3 ชั้น ชั้นบนสูงสุดประมาณ 20 เมตร อ่างเก็บน้ำหนองเคาะ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก อยู่บริเวณหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าวังตะเคียน เป็นที่พักผ่อนของประชาชนในการตกปลา ความรู้เกี่ยวกับค้างคาว เชื่อกันว่า “ค้างคาว” เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของสัตว์กินแมลงที่หากินอยู่บน ต้นไม้ มีการค้นพบฟอสซิลค้างคาวที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในยุค EOCENE หรือราว 50 ล้านปีมาแล้ว ค้างคาว นับเป็นสัตว์ที่มีความมหัศจรรย์มาก คือ มีการติดต่อสื่อสาร โดยการส่งคลื่นโซน่าร์ เพื่อหลบหลีกสิ่งที่กีดขวางต่าง ๆ ค้างคาว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่บินได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มค้างคาวกินผลไม้ มี 166 ชนิด ในประเทศไทยพบ 18 ชนิด ค้างคาวชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของโลกเท่านั้น และมีกลุ่มหนึ่งเป็นค้างคาวกินแมลง มี 759 ชนิด ในประเทศไทยพบ 90 ชนิด จากการสำรวจค้างคาวที่อาศัยอยู่ในถ้ำเจ้าราม ประมาณ 2 ล้านตัวพบว่ามีค้างคาวอยู่ 6 ชนิด คือ ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวปีกถุง ค้างคาวหน้ายักษ์กระบังหน้า ค้างคาวหน้ายักษ์สามลีบ ค้างคาวปากย่น และ ค้างคาวปีกพับใหญ่ ทั้ง 6 ชนิดเป็นค้างคาวกินแมลง ข้อแนะนำในการเยี่ยมชมถ้ำเจ้าราม 1. การเดินทางไปถ้ำเจ้าราม สามารถเดินทางโดยทางรถยนต์ถึงบริเวณหน้าถ้ำ ระยะทางจากอำเภอ บ้านด่านลานหอยถึงถ้ำเจ้าราม ประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที 2. สิ่งของที่ต้องเตรียมไป สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าชมภายในถ้ำ ควรมีเสื้อไว้ผลัดเปลี่ยน เพราะภายในถ้ำมีมูลค้างคาวจำนวนมากอาจฟุ้งกระจายติดตัว และควรมีไฟฉายไปด้วย เพราะภายในถ้ำมืดมาก และสำหรับผู้ที่ต้องการชมฝูงค้างคาว ควรเตรียมอาหารเย็นไปด้วยและหากต้องการพักค้างคืนบริเวณหน้าถ้ำเพื่อชมฝูงค้างคาวบินเข้าถ้ำ ควรนำเต้นท์และเครื่องนอนไปด้วย 3. ช่วงเวลาในการเยี่ยมชมถ้ำเจ้าราม เวลา 14.00 น. ควรเดินทางถึงบริเวณหน้าถ้ำ เวลา 14.00-17.00 น. เข้าเยี่ยมชมภายในถ้ำและทิวทัศน์รอบ ๆ ถ้ำ เวลา 17.00 น. เตรียมพร้อมสำหรับชมฝูงค้างคาวบินออกจากถ้ำ เพื่อหากินในตอนกลางคืน เวลา 17.30 น. ชมฝูงค้างคาวทยอยบินออกจากถ้ำพร้อมรับประทานอาหารและพักผ่อนตามอัธยาศัย เวลา 06.00 น. ของวันถัดมาชมฝูงค้างคาวทยอยบินเข้าถ้ำ เส้นทางคมนาคม 1. จากจังหวัดสุโขทัยไปตามถนนสายสุโขทัย-ทุ่งเสลี่ยม ระยะทาง 67 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อถนนลูกรัง รพช.สายทุ่งเสลี่ยม-บ้านด่านลานหอย 19 กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำ เจ้าราม รวมระยะทาง 86 กิโลเมตร 2. จากจังหวัดสุโขทัยไปตามถนนสายสุโขทัย-ตาก ถึง อ.บ้านด่านลานหอย ระยะทาง 27 กิโลเมตร แล้วเลี้ยงขวาเข้าถนนสายบ้านด่านลานหอย-ทุ่งเสลี่ยม 34 กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม รวมระยะทาง 61 กิโลเมตร สถานที่ติดต่อเข้าเยี่ยมชมถ้ำเจ้าราม ผู้ที่ต้องการเข้าเยี่ยมชมถ้ำเจ้ารามต้องติดต่อขออนุญาตจากหน่วยพิทักษ์เขตห้างล่าสัตว์ป่าฯ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหนองเคาะ ก่อนถึงถ้ำเจ้ารามประมาณ 7 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ว่าการอำเภอบ้านด่านลานหอย โทรศัพท์ 0-5568-9024 |
วัดพิพัฒน์มงคล
วัดพิพัฒน์มงคล
วัดพิพัฒน์มงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ หรือพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง หล่อด้วยทองคำหนัก 9 กิโลกรัม ปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลปะสมัยสุโขทัยที่มีความงดงาม |